1. Cloud (คลาวด์) คืออะไร |
2. ประเภทของ Cloud |
3. ประเภทของ Service ใน Cloud |
4. ลักษณะการใช้งานของ Cloud |
Written by Thanatip Suwanjandee, Cloud Architect Manager
LinkedIn - Thanatip Suwanjandee
1. Cloud (คลาวด์) คืออะไร |
2. ประเภทของ Cloud |
3. ประเภทของ Service ใน Cloud |
4. ลักษณะการใช้งานของ Cloud |
Cloud คืออะไรสำหรับมือใหม่ หรือคนที่ไม่เคยใช้ Cloud เนี่ยมันกว้างมาก ๆ แต่ในบทความนี้ผมจะอธิบายในแบบของผมนะครับ เริ่มกันเลย
Cloud ย่อมาจาก “Cloud Computing” แต่เราจะแรกสั้นๆ ว่า Cloud ซึ่งมันคือ เครื่องมือหรือ การบริการ System Host (ระบบที่เป็นตัวกลางไว้ควบคุม System อื่นๆ) ต่างๆ ผ่าน อินเทอร์เน็ต
ทั้งนี้ Cloud ในตอนนี้นั้นมี Services ที่ให้บริการในระดับ End to End เลยที่เดียว นึกอะไรไม่ออก Cloud มีบริการทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นบริการระบบเครือข่าย การเก็บข้อมูล การประมวลผล การใช้งานด้านซอฟต์แวร์ รวมถึง AI หรืออื่นๆ อีกมากมาย (เฉพาะ Cloud เจ้าใหญ่ ๆ ถึงจะมีให้เลือกใช้อย่างจุใจ)
ความแตกต่างระหว่าง Server on-Premise (ซ้าย) และ on-Cloud (ขวา)
ก็ตามชื่อเป็น Cloud ที่เปิดให้ใครก็ได้ใช้ เพียงเรายอมรับเงื่อนไข แล้วจ่ายเงิน Cloud ประเภทนี้มีการแข่งขันกันสูงเพื่อแย่งผู้ใช้งานจึงทำให้แข่งกันพัฒนา Services ใหม่ๆ หรือ แข่งกันลดราคาเป็นต้น ตัวอย่างที่เราคุ้นๆ กันดีก็ AWS ของ Amazon, Azure ของ Microsoft และ Google Cloud ของ Google
อ่านเพิ่มเติม Google Cloud ปลอดภัยหรือไม่?
ตัวอย่าง Public cloud
Cloud ที่ตั้ง Server อยู่ในเขตนั้นๆ เช่น Local Cloud ของไทย Data Center หรือ Server ก็จะตั้งอยุ่ในไทย Cloud ประเภทนี้จะมีราคาการใช้งานที่ถูกกว่า Public Cloud แต่ Function หรือ Services ต่างๆ จะยังไม่เท่า ถ้าคุณต้องการเก็บข้อมูลของคุณให้อยู่ในประเทศ ก็ควรเลือกใช้ Cloud ประเภทนี้
Cloud ที่อยู่ในรูปแบบ Private โดยการทำอาจจะ ซื้อ Hardware แล้วใช้พวก Open Source จัดการ หรือใช้พวก Hardware ที่แถมตัวจัดการ Private Cloud มาด้วยทำให้ Cloud ประเเภทนี้มีความเป็นส่วนตัวสูง ส่วนเรื่องความปลอมภัยนั้นจะสูงถ้าคุณมีคนดูแลระบบที่เก่ง ยกตัวอย่างเช่น Cloud ของบริษัท, Cloud ส่วนตัว
รายละเอียดความแตกต่างของ service บน cloud
1) On-Premise
ประเภทของ Services ที่เราคุ้นชิน ซึ่งเราต้องจัดการทุกอย่างทั้งด้วยตนเอง ดูได้จากรูปด้านบน ทำให้เสียทรัพยาการไม่ว่าจะ ด้านพลังงาน, ด้านดูแลรักษา, ด้านความปลอดภัย เป็นต้น
2) Infrastructure as a Service (IAAS)
Services ที่ผู้ให้บริการ Cloud นั้นๆ ดูแลในส่วนของ Infrastructure ให้ทั้งหมด ไม่ว่าจะด้าน Hardware, Network และอีกมากมายดูตามรูปส้ม
3) Platform as as Service (PAAS)
ผู้ให้บริการ Cloud นั้นๆ ดูแลในส่วนต่างๆ แทบจะเหมือน IAAS แต่จะดูแลเพิ่มในส่วน Identity ให้เพิ่มเติม
4) Managed Service
Public Cloud ส่วนมากกำลังจะทำให้เป็นมาตรฐานใหม่ในการใช้ Cloud โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวอะไรมากมาย เช่น ไม่ต้องดูแล Server, Networking, Scaling, Security อะไรเลย เพียงแค่ Click ตามขั้นตอนก็ได้ Application หรือ System ที่ปกติใช้เวลาในกว่าจะ Implement ได้แต่ค่าใช้จ่ายในการใช้งานก็อาจจำเพิ่มขึ้นมาตามความสามารของมันเช่นกัน
อ่านเพิ่มเติม Cloud Ace ให้บริการ Google Cloud Managed Services ในประเทศไทยแล้ววันนี้
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
เป็นการทำงานระหว่าง Cloud กับ On-premise รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ค่อนข้างนิยม เพราะ ในองค์กรใดๆ ก็ยังอยากใช้ของที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด เวลา Migrate ขึ้น Cloud จะไม่ต้อง Migrate ทั้งหมด เมื่อรวมกันแล้วจะได้ประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
On-premise คือ Data Center หรือ Server ที่ตั้งอยู่ในองกรค์ของคุณเช่น Physical Hardware, Rack ต่างๆ
การทำงานของ Hybrid cloud
เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง Cloud กับ Cloud เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของผู้ใช้งาน เช่น Public Cloud ตัวหนึ่งเด่นเรื่อง Infrastructure อีก Public Cloud หนึ่งเด่นเรื่อง Machine Learning เมื่อนำมาใช้งานร่วมกันก็จะเกิดผมลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้งาน
อ่านเพิ่มเติม Google Cloud คืออะไร (ฉบับมือใหม่)
จบกันไปแล้วสำหรับพื้นฐานของ Cloud Platform ทั่วไป หวังว่าจะทำให้ผู้อ่านทุกท่านเข้าใจถึง Concept ของ Cloud ได้มากยิ่งขึ้น
ทำความรู้จักกับเทคโนโลยีอื่นๆ บน Google Cloud กับกิจกรรม webinar
หากคุณต้องการคำปรึกษา Cloud Ace Thailand พร้อมให้บริการที่จะสนับสนุนคุณตั้งแต่ การให้คำปรึกษา จนถึงการออกแบบระบบ ติดตั้งระบบ ย้ายระบบ ในฐานะ Google Cloud Partner ที่มีความเชี่ยวชาญ และได้รับรางวัล Service partner of the year ในปี 2019
ติดต่อเรา th_sales@cloud-ace.com