Google Cloud คืออะไร (ฉบับมือใหม่)


Google Cloud คืออะไร (ฉบับมือใหม่)

Written by Thanatip Suwanjandee, Cloud Architect Manager
LinkedIn - Thanatip Suwanjandee

1. Google Cloud Platform (GCP) คืออะไร

2. การใช้งาน GCP

3. ส่วนลดการใช้งาน GCP

4. Service ต่างๆ บน GCP

1. Google Cloud Platform คืออะไร ?

Google Cloud Platform หรือ Google Cloud เรียกกันย่อๆ ว่า GCP เป็น Public Cloud ของทาง Google ที่เรารู้จักกันดี ไม่ว่าจะเป็น Google Search engine, Google Map, Google Drive

โดยปกติแล้ว Cloud นั้นจะมี Services หลายอย่างมากๆ GCP ก็เช่นกันมี เอาง่าย ๆ แค่เข้ามาใช้ GCP คุณแทบไม่ต้องไปหา Software อื่นมาใช้เลย ซึ่งทาง GCP เองก็ได้ออกแบบ Services ที่เป็น Cloud-Native มากมายให้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็นด้าน Server, Database, ML, Data ก็มีครบ 

หมดห่วงเรื่องความปลอดภัย (Security) เพราะ Google ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกสุด ทั้งนี้ Google ยังออกแบบ Interface กับ UI มาตามใจผู้ใช้งานสมชื่อ User-friendly ด้วยทำให้ใช้งานง่ายเข้าไปอีก


2. การใช้งาน GCP

1. เข้าไปที่ https://console.cloud.google.com

2. สามารถใช้ Gmail login เข้าไปได้เลย

3. ลองใช้งานฟรี 300$ แบบไม่ขายฝันในระยะเวลา 1 ปี แต่ต้องผูกบัตรเครดิตก่อน ถ้าไม่อยากเสียเงินก่อนครบเอาบัตรออกได้

ในกรณีติดใจ อยากใช้ต่อ แต่ไม่ใช้บัตรเครดิต สามารถใช้บริการ Local Billing ได้ ผ่านบริการของ Local billing partner ที่จะช่วยคุณในการออกบิล ใบกำกับภาษีสำหรับบริษัท และพร้อมแนะนำการใช้งาน

ขอแนะนำบริษัทผมเลยแล้วกัน https://cloud-ace.co.th/

    4. สร้าง Project การทำงานของ Service ใน GCP อยู่ภายใต้ Project ต้องสร้างก่อน

    5. เลือกใช้งาน Services ตามที่อยากใช้ได้เลย

      ตัวอย่าง serverless service

      ตัวอย่าง Big data service

      6. การใช้งาน GCP หลังจากเปิดใช้งาน Services นั้นๆ จะคิดค่าบริการเป็นวินาทีทันที ซึ่ง Google จะเรียกเก็บทุกๆ สิ้นเดือน

      3. ส่วนลดการใช้งาน GCP

      ในการใช้งาน GCP นั้นจะมีส่วนลดหลายแบบดังนี้

      4. Service ต่างๆ บน GCP

      Cloud Deployment Regions 

      เป็นการเลือกพื้นที่สำหรับ Deploy Service ของเรา โดยตอนนี้ Google มีให้เลือกทั่วทุกมุมโลก 

      ปัญหาคือจะเลือกที่ไหนดี? คุณต้องรู้จักว่า User ของเราส่วนมากใช้งานที่ไหนเป็นหลัก อีกอย่างหนึ่งที่ต้องคำนึงก็คือ Policy ของบริษัทเราว่าจำเป็นต้อง Deploy Services เป็นลักษณะ Geo Base หรือไม่

      Resource manager 

      เป็นการจัดการทรัพยากร ลักษณะการใช้งานของภายในองค์กรของเรา การทำงานของ Google Cloud จะมีลักษณะเป็นชั้นๆ (hierarchy) โดยที่เริ่มจาก

      Organization > Project > services/ resources

      การจัดการ Resource เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Organization setup เพื่อจัดการแผนกต่างๆ กำหนดบทบาทผู้ใช้งานว่าใครต้องใช้ service ใด หรือจะใช้ Services ไหนบ้างก็สำคัญเช่นกัน จะได้จัดการได้เป็นระบบยิ่งขึ้น

      Identity & Access Management 

      จะเป็นการจัดการกับ Permission ต่างๆ ของ User ที่ใช้งาน GCP โดยส่วนจะใช้ Tools ที่ชื่อว่า Cloud IAM ในการจัดการ เช่น กำหนดให้ใครเข้าถึง Sensitive data ได้บ้าง, กำหนดให้ทีมนั้นๆ ใช้งาน Service ใดๆ ได้แค่ทีมเดียวทีมอื่นๆ เข้าไม่ได้ เป็นต้น

      Compute 

      เป็น Service หนึ่งของ Google Cloud ที่สำคัญ และมีคนใช้เยอะพอสมควร เพราะเป็น Service ที่เข้าใจง่ายหลักการทำงานคล้ายๆ คอมพิวเตอร์ของเราเลย โดยการเลือก OS, Memory, CPU เป็นต้น
      ซึ่งภาพด้านล่างนี้จะเป็นตัวอย่าง Services ใน Compute ทั้งหมดในตอนนี้จะเห็นมีเยอะพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นแบบ VM, Container, Serverless ก็มีครบ

      Storage 

      Services หนึ่งที่เรารู้จักกันดี มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูล ซึ่งความแตกต่างของแต่ละตัวขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้น้อยมากน้อยแค่ไหน ขนาดข้อมูล ความต้องการในการเข้าถึงข้อมูล คล้ายกับ Google Drive, Dropbox แต่เราสามารถตั้งค่ารายละเอียดได้มากกว่า 

      ในรูปนี้จะเป็นตัวอย่าง Services ของ Storage ใน GCP นะครับซึ่งตัวที่ใช้บ่อยๆ เลยก็ Cloud Storage ใช้เป็น Object Storage ส่วน Persistent Disk เป็น Disk ที่อยู่ในเครื่องของ Compute เรานั่นเอง

      Databases 

      เป็นอีก Services หนึ่งที่จะขาดไม่ได้ในการ Application หรือ System ใดๆ ทาง Google มี Database ให้เลือกใช้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นแบบ SQL หรือ NoSQL นะครับดูตามตารางนี้ได้เลย เดี่ยวรอเจาะลึกรายตัวในพาร์ท Database

      Analytics 

      สำคัญมากในการทำ Big data ซึ่ง Service นี้ของ GCP นั้นครบจบในที่เดียวในการทำ Data Analytic Pipeline เลยทีเดียวไม่ว่าจะเป็น Ingest, Processing, Analyze, Consume 

      Services ที่เกี่ยวข้องกับการทำ Analytics นั้นมีเยอะมาก ๆ แต่หลักๆ ที่ใช้กันเยอะก็คือ BigQuery ที่เป็น Data Warehouse ทั้งยังมีพลังการ Query ที่เร็วในระดับท็อปๆด้วยครับ

      Networking 

      เป็น Service ที่สำคัญต่อการจัดการระบบต่างๆ บน GCP ถ้าเราไม่ใช้ GCP หรือต้องการที่จะทำการจัดการระบบ Network เองเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวอีกเรื่องนึงเลย กว่าจะทำให้ระบบต่างๆ ของเราเชื่อมถึงกันได้โดยกรณีที่เราไม่ได้มีความรู้เรื่อง Network Engineer

       Network ของ GCP โดยปกติแล้วจะเป็นเชื่อมกันแบบ Global VPC Network กล่าวคือทุกๆ Service ที่สร้างใน GCP Project ของเราสามารถเชื่อมต่อกันได้ทั้งหมดแบบ Default แต่ถ้าต้องการออกแบบ Network เองก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน

      ในรูปด้านล่างจะเป็น Services ที่เกี่ยวข้องกับ Networking อื่นๆ อาจจะคุ้นตากับ Firewall, CDN, DNS เป็นต้น ทั้งนี้ทาง GCP ก็มีให้บริการทั้งหมดนี้เช่นเดียวกัน

      หวังว่าจะเข้าใจพื้นฐานของ Cloud และได้รู้ว่า Google Cloud เป็นอย่างไร มีการทำงานแบบไหน  นอกจากนี้ Services ต่างๆ ที่ผมไม่ได้เจาะลึกทีละตัว เดี๋ยวถ้ามีโอกาสจะมีเขียนอธิบายไปทีละหัวข้อให้ครับ บทความนี้ถ้าผิดพลาด หรือ ตกหล่นอะไรไป ขออภัยนะครับ มีความคำถามหรือสงสัยอะไรคอมเม้นกันได้ครับ

      ทำความรู้จักกับเทคโนโลยีอื่นๆ บน Google Cloud กับกิจกรรม webinar

      ลงทะเบียนเข้าร่วมฟรี ! คลิกที่นี่

      Make It Now!

      หากคุณสนใจต้องการคำปรึกษา Cloud Ace Thailand พร้อมให้บริการที่จะสนับสนุนคุณตั้งแต่ การให้คำปรึกษา จนถึงการออกแบบระบบ ติดตั้งระบบ ย้ายระบบ ในฐานะ Google Cloud Partner ที่มีความเชี่ยวชาญ และได้รับรางวัล Service partner of the year ในปี 2019

      ติดต่อเรา th_sales@cloud-ace.com

      .