รู้จักกับ Public Cloud


รู้จักกับ Public Cloud

เมื่อธุรกิจเริ่มเติบโตขึ้น ผู้คนจำนวนมากเริ่มหันมาพึ่งพาการใช้เทคโนโลยีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การใช้บริการระบบคลาวด์ (cloud) จึงเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่ผู้คนให้ความสนใจ แต่การตัดสินจะมาใช้คลาวด์ก็ต้องรู้จักความแตกต่างของระบบคลาวด์ที่มีหลายประเภท ว่าควรจะเลือกบริการอันไหนดี ธุรกิจแบบไหนเหมาะกับระบบคลาวด์ ฯลฯ มีจุดที่ต้องคำนึงถึงมากมาย และหนึ่งในจุดสำคัญที่ต้องพิจารณาก็คือ ควรเลือกใช้อันไหนดีระหว่าง Public cloud กับ Private cloud

1. Public cloud คืออะไร

2. Private cloud คืออะไร

3. เปรียบเทียบรูปแบบการให้บริการทั้ง 3 แบบของ Public cloud

4. ผู้ให้บริการ (cloud provider) รายใหญ่

ในครั้งนี้ เราจะมาแนะนำเกี่ยวกับ Public cloud คร่าวๆ และข้อดีของมัน พร้อมเปรียบเทียบกับข้อดีข้อเสียกับ Private cloud นอกจากนี้ เราจะอธิบายเกี่ยวกับบริการเด่นๆ และรูปแบบการให้บริการของ Public cloud สำหรับใครที่กำลังคิดจะย้ายมาใช้คลาวด์ หรือกำลังสับสนอยู่ว่าจะเลือกใช้บริการอันไหนดี ลองใช้บทความนี้เป็นตัวช่วยตัดสินใจก่อนครับ

1. Public cloud คืออะไร

Public cloud หมายถึง ระบบคลาวด์ที่เปิดให้ใช้บริการโดยทั่วไป (บน server สาธารณะ)

อ่านเพิ่มเติม Cloud (คลาวด์) คืออะไร

เป็นการใช้ทรัพยากรที่ผู้ให้บริการคลาวด์จัดเตรียมให้ อย่างเช่น เซิร์ฟเวอร์ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เท่าที่จำเป็นเท่านั้น โดยที่บริษัทไม่จำเป็นต้องมีเซิร์ฟเวอร์ส่วนตัว

จุดเด่นหลักๆ ของมันก็คือใช้ต้นทุนต่ำและเวลาไม่นานในการเริ่มใช้ครั้งแรก และมีความสามารถในการขยายสูง จึงเหมาะกับกรณีที่มีการเพิ่มหรือลดทรัพยากรที่ใช้งานอยู่บ่อยครั้ง หรือกรณีที่ต้องการลดต้นทุนเป็นอันดับแรก

ข้อดีของ Public cloud


สามารถเริ่มใช้งานได้ทันทีเพียงแค่สมัครผ่านอินเทอร์เน็ต

ข้อดีที่เห็นได้ชัดของ Public cloud คือ สามารถเริ่มใช้งานได้ทันทีหลังจากสมัครผ่านทางอินเทอร์เน็ต

สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นใช้งานได้

สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นใช้งานได้ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องซื้อฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

ความสามารถในการขยายสูง

การที่มันมีความสามารถในการขยายสูงก็ถือเป็นอีกจุดเด่นของ Public cloud เช่นกัน และด้วยการที่เราสามารถเลือก CPU, Memory, และ Disk ได้อย่างอิสระ พร้อมทั้งยังสามารถปรับการใช้ทรัพยากรให้เหมาะสมตามความจำเป็นได้อย่างง่ายดาย ทำให้มีความยืดหยุ่นในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ


ไม่จำเป็นต้องจัดการ/ดูแลการทำงานของระบบเอง

นอกจากนี้ เรื่องการจัดการ/ดูแลการทำงานของระบบบน Public cloud ทางผู้ให้บริการคลาวด์จะเป็นผู้ดูแลให้ เพราะฉะนั้น การที่เราไม่จำเป็นต้องมาเสียเวลากู้คืน/ซ่อมแซมเวลาที่เกิดเหตุขัดข้องหรือคอยบำรุงรักษาระบบด้วยตัวเอง ก็เหมือนเป็นการช่วยลดภาระให้ฝ่าย IT ภายในบริษัท


ง่ายต่อการจัดการค่าใช้จ่ายด้วยระบบจ่ายตามปริมาณการใช้งาน

สำหรับการคิดค่าบริการ บริการของ Public cloud ส่วนใหญ่จะเป็นแบบเรียกเก็บค่าบริการตามปริมาณการใช้งาน ดังนั้น เราจึงสามารถเลือกใช้งานแค่ในส่วนที่จำเป็นในตอนที่จำเป็นได้ และไม่ต้องกังวลว่าจะเสียเงินเปล่า

ข้อเสียของ Public cloud


จำเป็นต้องตรวจสอบความเข้ากันได้กับบริการที่ใช้อยู่

จุดหนึ่งที่ต้องระวังเมื่อจะเริ่มใช้ Public cloud เลยก็คือ ความเข้ากันได้กับบริการที่เรามีอยู่ สำหรับบางบริการหรือระบบที่ใช้อยู่ อาจไม่รองรับ Public cloud หรือในบางครั้งอาจจะต้องมีมาตรการแยกต่างหากเพื่อความปลอดภัย

มีขีดจำกัดในการปรับแต่ง(Customize)

Public cloud ยังมีขีดจำกัดในการปรับแต่ง เนื่องจากต้องใช้บริการที่อยู่ในขอบเขตที่ทางผู้ให้บริการคลาวด์กำหนด ทำให้การเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าหรือฟังก์ชันให้เหมาะกับการใช้งานของเราเป็นเรื่องยาก ดังนั้น ก่อนที่จะเริ่มใช้ระบบนี้ ควรตรวจสอบกับผู้ให้บริการคลาวด์ให้แน่ใจก่อนว่ามันสามารถใช้กับระบบที่เราใช้อยู่ หรือเหมาะกับสิ่งที่เราต้องการหรือไม่

เมื่อเกิดเหตุขัดข้องเราจะไม่สามารถแก้ไขเองได้

หนึ่งในข้อดีของ Public cloud ก็คือ การที่เราไม่ต้องดูแลการทำงานของระบบหรือซ่อมแซมเวลาเกิดเหตุขัดข้องด้วยตัวเอง แต่ทว่า ถ้ามองในมุมกลับกัน นั่นหมายความว่าเมื่อเกิดเหตุขัดข้องมีแต่ต้องรอให้ผู้ให้บริการคลาวด์ดำเนินการแก้ไขให้เท่านั้น เพราะฉะนั้นต้องระวังไว้ว่าเป็นการยากที่จะเข้าใจและควบคุมสถานการณ์

ความปลอดภัยน้อยกว่า Private cloud

เนื่องจากเป็นระบบที่ใช้เครือข่ายที่เปิดให้บริการแบบสาธารณะ เมื่อเทียบกับ Private cloud แล้วด้านความปลอดภัยอาจจะด้อยกว่าบ้าง ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยการที่ไม่ว่าใครก็สามารถเข้าใช้งานได้อย่างง่ายดาย จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาใหญ่จากความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย เช่น ตั้งค่าการจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความลับผิด เป็นต้น ในการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุด้านความปลอดภัยนั้น จำเป็นจะต้องมีการปรับแต่ง เช่น สร้างสภาพแวดล้อมเครือข่ายที่มีการแยกทรัพยากรทางกายภาพ(CPU, Memory ฯลฯ) ออกจากผู้ใช้รายอื่น

2. Private cloud คืออะไร

ระบบที่มักจะถูกเปรียบเทียบกับ Public cloud ก็คือ Private cloud ซึ่งระบบนี้จะเป็นระบบคลาวด์ที่เปิดให้บริการสำหรับแค่บริษัทหรือองค์กรนั้นๆ โดยเฉพาะ รวมถึงทรัพยากรต่างๆ เช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ data center และการเชื่อมต่อสายต่างๆ ก็เป็นของบริษัทนั้นๆ โดยเฉพาะจึงสามารถตั้งค่าได้อย่างอิสระ

Private cloud จะถูกแบ่งออกเป็นสองแบบคือ แบบ "On-Premise" ที่ทรัพยากรทางกายภาพ เช่น การเชื่อมต่อสายและอุปกรณ์ต่างๆ จะอยู่ภายในบริษัท กับแบบ "Hosting" ที่ไม่ได้อยู่ภายในบริษัท

แบบ On-Premise จะใช้เครื่อง server จริงที่อยู่ในบริษัทจำลองคลาวด์ขึ้นมา เรียกได้ว่าเป็นการนำระบบ On-Premise แบบดั้งเดิมมาเปลี่ยนให้เป็นคลาวด์ส่วนหนึ่ง เพราะฉะนั้นจึงเหมาะกับงานที่ต้องจัดการกับข้อมูลที่มีความสำคัญ เนื่องจากสามารถปรับแต่งให้เข้ากับนโยบายด้านความปลอดภัยของบริษัทได้

ส่วนแบบ Hosting ซึ่งเป็นการนำเซิร์ฟเวอร์หลายๆ เครื่องมาเชื่อมต่อการทำงานพร้อมๆ กัน จะเป็นการสร้างและใช้ระบบคลาวด์ส่วนตัวบนสภาพแวดล้อมที่ทางผู้ให้บริการคลาวด์จัดเตรียมให้ จุดเด่นของมันคือใช้งานง่ายเหมือน Public cloud และยังสามารถใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยได้เหมือน Private cloud แบบ On-Premise

ข้อดีของ Private cloud

สามารถปรับแต่งได้อย่างละเอียดและสร้างระบบที่มีความยืดหยุ่นสูงได้

ข้อดีใหญ่ๆ ของ Private cloud เลยก็คือสามารถปรับแต่งได้ละเอียด และสร้างระบบได้อย่างอิสระตามที่ต้องการ ทำให้เราสามารถเพิ่มฟังก์ชันต่างๆ ให้เหมาะสมกับการดำเนินงานและความต้องการของเราได้จนกว่าจะพอใจ

สามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยที่เหมาะกับบริษัทของเราได้

การที่ Private cloud มีความปลอดภัยสูงก็ถือเป็นอีกจุดเด่นเช่นกัน Private cloud นั้นสามารถสร้างสภาพแวดล้อมด้านความปลอดภัยตามนโยบายด้านความปลอดภัยที่ผู้ใช้งานกำหนดเองได้ ตรงข้ามกับ Public cloud ที่นโยบายด้านความปลอดภัยจะถูกกำหนดโดยผู้ให้บริการคลาวด์ ดังนั้นเราจึงสามารถจัดการดูแลด้านความปลอดภัยที่เหมาะสมกับนโยบายขององค์กรได้ เช่น เปลี่ยนข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในทุกๆ ชิ้นงาน

ข้อเสียของ Private cloud

ใช้ต้นทุนและเวลาในการเริ่มต้นใช้งาน

เนื่องจาก Private cloud นั้นเป็นการสร้างระบบที่ปรับแต่งได้ตามต้องการและเรายังเป็นเจ้าของเอง ทำให้ค่อนข้างใช้ต้นทุนและเวลาในการเริ่มต้นใช้งาน โดยเฉพาะแบบ On-Premise ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอาจจะสูงเป็นพิเศษ เนื่องจากต้องซื้อฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และอื่นๆ อีก

เพิ่มหรือลดทรัพยากรได้ยาก

การเพิ่มหรือลดทรัพยากรของ Private cloud อาจทำได้ยากหากติดตั้งเรียบร้อยแล้ว เพราะบริการ Private cloud ส่วนใหญ่จะมีการทำสัญญาระยะยาวซึ่งเรียกเก็บค่าบริการตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้แล้วขึ้นอยู่กับระยะเวลาการใช้งาน

การควบคุมค่าใช้จ่ายให้คุ้มค่าที่สุดจะทำได้ยากกว่า Public cloud

Private cloud ต่างจาก Public cloud ที่โดยปกติจะเรียกเก็บค่าบริการตามปริมาณการใช้งาน ดังนั้น ความสามารถในการขยายของมันจึงต่ำ ซึ่งไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการเพิ่มหรือลดทรัพยากรอยู่บ่อยๆ จึงสามารถพูดได้ว่าการจะควบคุมค่าใช้จ่ายให้คุ้มค่าที่สุดอาจเป็นเรื่องยากเมื่อเทียบกับ Public cloud ที่สามารถเลือกใช้แค่ในเวลาที่จำเป็นและในปริมาณที่จำเป็นได้

ต้องจัดการดูแลการทำงานของระบบเอง

อีกข้อเสียคือ เราจำเป็นต้องจัดการดูแลการทำงานของระบบที่อยู่ภายในบริษัทเอง เนื่องจากทั้งการบำรุงรักษาและการซ่อมแซมเมื่อเกิดเหตุขัดข้องจะต้องทำด้วยตัวเองทั้งหมด ภาระหน้าที่ของผู้รับผิดชอบก็จะเพิ่มขึ้นไปอีก กลายเป็นว่าต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและค่าจ้างเพิ่มขึ้นอีก


3. เปรียบเทียบรูปแบบการให้บริการทั้ง 3 แบบของ Public cloud

สำหรับ Public cloud สามารถแบ่งได้ 3 รูปแบบใหญ่ๆ ตามขอบเขตการให้บริการ เรามาดูรายละเอียดคร่าวๆ ของแต่ละอันกันดีกว่า

  • SaaS

  • PaaS

  • IaaS

1) SaaS (Software as a Service)

รูปแบบที่เราใช้บริการซอฟต์แวร์ที่ทางผู้ให้บริการคลาวด์จัดเตรียมให้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเป็นบริการที่อยู่อินเทอร์เน็ต เราจึงสามารถใช้งาน application ได้โดยไม่ต้องติดตั้ง ถ้าจะให้ยกตัวอย่างที่เป็นบริการของ Google ที่ถือเป็น SaaS ก็อย่างเช่น Gmail, Google Drive ฯลฯ

2) PaaS (Platform as a Service)

รูปแบบที่เราใช้บริการ Platform ผ่านทางอินเตอร์เน็ตสำหรับการรัน application ทั้งฐานข้อมูลและภาษาที่จำเป็นในการพัฒนา application จะถูกจัดเตรียมให้ ดังนั้นผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะเป็นผู้พัฒนา app สำหรับตัวอย่างบริการของ Google จะได้แก่ Google App Engine

3) IaaS (Infrastructure as a Service)

รูปแบบที่เราใช้บริการโครงสร้างพื้นฐานของคอมพิวเตอร์(Infrastructure) ผ่านทางอินเตอร์เน็ต เช่น เซิร์ฟเวอร์จำลอง ที่เก็บข้อมูล และเครื่องจ่ายไฟ ฯลฯ ในการรันระบบ ด้วยข้อดีที่ว่าเราสามารถสร้างและปรับแต่งโครงสร้างเหล่านั้นได้ตามที่ต้องการโดยที่ทางผู้ให้บริการคลาวด์จะจัดการดูแลการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้ ผู้ใช้งานหลักๆ จึงเป็นผู้ที่ต้องการใช้ทั้งระบบปฏิบัติการ ตัวอย่างบริการแบบ IaaS ที่เป็นของ Google ได้แก่ Google Compute Engine


4. ผู้ให้บริการ (cloud provider) รายใหญ่

  • Google Cloud

  • AWS

  • Microsoft Azure

Google Cloud Platform (GCP)

Google Cloud ก็คือบริการคลาวด์ของ Google ที่มีจุดเด่นอย่างมากในเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลและ Machine Learning นอกจากนี้ ยังให้ความรู้สึกคุ้นเคยและใช้งานง่ายสำหรับคนที่ใช้บริการ เช่น Search engine ของ Google, Gmail, Youtube, หรือ Google Maps อยู่แล้ว

อ่านเพิ่มเติม Google Cloud คืออะไร (ฉบับมือใหม่)

AWS (Amazon Web Services)

AWS(Amazon Web Services) เป็นบริการคลาวด์ของ Amazon ที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2004 ทั้งส่วนแบ่งทางการตลาดและประวัติความเป็นมาถือเป็นอันดับต้นๆ อีกทั้งยังมักจะถูกนำไปเป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบกับบริการ Public cloud อื่นๆ และยังเป็นที่นิยมในประเทศ(ญี่ปุ่น) การค้นหาด้วยภาษาญี่ปุ่นก็ทำได้ง่าย เรียกได้ว่าเวลามีปัญหาก็หาที่ปรึกษาได้ไม่ยาก

Microsoft Azure

Microsoft Azure เป็นบริการคลาวด์ของ Microsoft จุดเด่นใหญ่ๆ เลยก็คือมีความเกี่ยวข้องกับบริการของ Microsoft อย่างเช่น Office 365 สำหรับผู้ที่ใช้ Active Directory หรือ Windows Serve อยู่แล้ว จะสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างราบรื่นและใช้งานได้โดยไม่มีติดขัดแม้จะย้ายมาบนคลาวด์ก็ตาม

สรุป

จนถึงตรงนี้ เราได้แนะนำเกี่ยวกับ Public cloud เบื้องต้น รวมถึงข้อดีข้อเสียและบริการที่เด่นๆ เพราะฉะนั้นลองพิจารณาว่าคลาวด์ชนิดไหนและรูปแบบไหนที่เหมาะสมกับธุรกิจของเราที่สุด

Make It Now!

หากคุณสนใจต้องการคำปรึกษา Cloud Ace Thailand พร้อมให้บริการที่จะสนับสนุนคุณตั้งแต่ การให้คำปรึกษา จนถึงการออกแบบระบบ ติดตั้งระบบ ย้ายระบบ ในฐานะ Google Cloud Partner ที่มีความเชี่ยวชาญ และได้รับรางวัล Service partner of the year ในปี 2019

ติดต่อเรา th_sales@cloud-ace.com

.