รู้จักกับโทรเวชกรรม (Telemedicine) ด้วย Google Cloud


รู้จักกับโทรเวชกรรม (Telemedicine) ด้วย Google Cloud

Written by Thanakit Gowitwanich, Data engineer


ภายหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ผลกระทบของ social distancing ส่งผลให้การทำงานแบบ remote และการใช้บริการ delivery ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของพวกเราอย่างมาก ในทางการแพทย์เองก็ได้เกิดเทรนด์ของโทรเวชกรรม (Telemedicine) หรือการรักษาระยะไกล หลายโรงพยาบาลล้วนมีผลักดันการออกแอพพลิเคชันของตนเอง แต่ต้องพบกับอุปสรรคทางเทคนิคมากมาย ในวันนี้ผมจะพาทุกท่านไปชมว่า Google Cloud Platform สามารถช่วยให้คุณทำระบบโทรเวชกรรมได้ง่ายดายขึ้นอย่างไรกัน

1. โทรเวชกรรม (Telemedicine) คืออะไร

2. แอพพลิเคชันในตลาดตอนนี้มีอะไรบ้าง

3. จะต้องเริ่มต้นพัฒนาโทรเวชกรรมอย่างไร

4. จะพัฒนาระบบให้ทันสมัยสำหรับโทรเวชกรรมได้อย่างไร

1. โทรเวชกรรม (Telemedicine) คืออะไร

โทรเวชกรรม (Telemedicine) หรือการรักษาระยะไกล เป็นการใช้แพลตฟอร์มให้คนไข้สามารถค้นหาข้อมูล และพบแพทย์ได้แบบออนไลน์ คอนเซปต์ง่ายๆ คือ อยู่ไหนก็พบหมอได้ โทรเวชกรรมนั้นไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ แต่มีมาเป็น 10 ปีแล้ว ทว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้โทรเวชกรรมกลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง เกิดเป็นกระแสใหม่ในวงการแพทย์เลยทีเดียว เพราะมีคุณสมบัติที่เหมาะใช้เป็นแผนรับมือ COVID-19 อย่างมาก ไม่ว่าจะช่วยให้การบริการรักษาเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อที่ต่ำ เพราะเข้าถึงการรักษาได้จากระยะไกล ช่วยให้แพทย์ในหลายพื้นที่สามารถแบ่งภาระของกันและกัน ซึ่งแก้ไขปัญหาขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ในบางพื้นที่ ทางคนไข้ก็ประหยัดเงินและเวลา เนื่องจากไม่ต้องเสียค่าเดินทางและไม่ต้องรอคิวยาวเป็นเวลานานที่โรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์

การรักษาที่ใช้โทรเวชกรรมได้มีหลากหลาย ตั้งแต่การรักษาโรคทั่วไป โรคเฉพาะทางหูตาจมูกปาก สุขภาพจิต จนไปถึงการรักษาในผู้ป่วยฉุกเฉิน เรียกได้ว่าครอบคลุมเกือบทั้งหมด แต่หลายกรณีอย่างการผ่าตัดจากระยะไกล ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องโยกย้ายเข้าห้องที่มีเครื่องมือเฉพาะและแพทย์ที่รักษาจำเป็นจะต้องมีใบอนุญาตก่อน (อ้างอิงจากประเทศอเมริกา)

2. แอพพลิเคชันในตลาดตอนนี้มีอะไรบ้าง

1) Amwell: Doctor Visits 24/7

แอพพบหมอทุกเวลาของบริษัทเจ้าดังที่อเมริกาอย่าง Amwell ซึ่งครองธุรกิจโทรเวชกรรมมากว่า 15 ปีแล้ว เรียกว่าตั้งแต่สมาร์ทโฟนยังไม่บูมเลยก็ว่าได้ บริการหลักๆ จะมี urgent care กับ therapy โดย urgent care เป็นการพบหมอเพื่อรับใบสั่งยา และสามารถใช้ไปซื้อยากับร้านขายยาใกล้บ้าน โดยระบบมาพร้อมการจัดการเรื่องประกันสุขภาพเช่นกัน ส่วน therapy ก็จะคล้ายกับสายด่วนสุขภาพจิตของบ้านเรา ความแตกต่างคือ ในอเมริกา การดูแลสุขภาพจิตนั้นเป็นเรื่องปกติของทุกคน นอกจากสองอย่างนี้ก็จะเป็นบริการจิปาถะ เช่น การให้คำปรึกษาเรื่องโภชนาการ การคุมน้ำหนัก การให้คำปรึกษาเรื่องการให้นมบุตร เป็นต้น สุดท้ายที่สำคัญระบบของเขาทำงานบน Google Cloud ทำให้มั่นใจได้ในเรื่องของความปลอดภัยของคนไข้และการรักษาได้อย่างหมดห่วง

2) Lemonaid: telehealth & rx meds

แอพเจ้านี้จะมีความพิเศษที่สามารถออกใบสั่งยาพร้อมบริการจัดส่งถึงบ้านด้วย เรียกว่าสะดวกสบายตอบโจทย์ผู้คนในช่วง COVID-19 ได้ดีทีเดียว บริการโดยรวมไม่ต่างกับ Amwell มากนัก แต่แอพพลิเคชันมีความทันสมัยกว่าจึงแข่งขันกับเจ้าใหญ่อย่าง Amwell ได้ เช่น บริการช่วยเลิกบุหรี่ เป็นต้น

3) Doctor On Demand

แอพนี้ตีตลาดด้วยการที่ผู้ใช้สามารถอ่านประวัติของหมอได้แบบละเอียดยิบก่อนจะเลือกใช้บริการ ดีไซน์ก็ออกแบบมาทันสมัย เวลาออกใบสั่งยามีระบบ Google map ให้เราเลือกร้านยาใกล้บ้านด้วย

เราได้เห็นความคึกคักของตลาดในอเมริกากันไปแล้ว กลับมาดูในไทยกันบ้าง ในประเทศไทยเองก็ได้มีข่าวการเปิดตัวแอพพลิเคชันจากหลายโรงพยาบาลรวมถึงบริษัทประกัน เช่น โรงพยาบาลจุฬา หรือสมิติเวช แต่สังคมยังอยู่ในช่วงปรับตัว และไม่มีใครครองตลาดชัดเจน ยังถือว่าเป็นอีกหนึ่งในโอกาสทางธุรกิจสำหรับองค์กรที่สนใจสายสุขภาพ

3. จะต้องเริ่มต้นพัฒนาโทรเวชกรรมอย่างไร

เมื่อเราเห็นความสำคัญของโทรเวชกรรมกันแล้ว หลายคนคงจะมีคำถามว่า แล้วเราพัฒนาระบบโทรเวชกรรมของโรงพยาบาลของเราอย่างไรดีล่ะ? เอาล่ะ ไม่ยากเกินความสามารถครับ ผมขอเสนอแนวทางให้ดังนี้

1. เริ่มต้นจากการออกแบบแอพพลิเคชัน และ Architecture ของระบบคร่าวๆ คุณอาจจะปรึกษากันเองภายในให้ดีก่อน แล้วว่าจ้างผู้พัฒนาแอพพลิเคชันหรือทำกันเอง โดยในขั้นนี้คุณยังไม่ต้องเห็นภาพ Architecture ระบบที่สมบูรณ์

1.1 ในขั้นนี้ผมขอแนะนำให้ระบบหลังบ้านทำงานบน Firebase ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

1.2 การเก็บข้อมูลคนไข้เราต้องพิจารณาความปลอดภัยเป็นพิเศษ ซึ่งทาง Google นั้นเขาจะมี API ที่ช่วยเรื่องนี้ได้ คือ Healthcare API (เพิ่มเติม : https://cloud.google.com/healthcare-api)

อ่านเพิ่มเติม Google Cloud ปลอดภัยหรือไม่?

1.3 ส่วนระบบแผนที่คุณสามารถใช้ Google Map API ได้ครับ

2. หลังคุณได้แอพพลิเคชันตัวทดลองซึ่งทำงานบน Firebase มาแล้ว ต่อไปคุณจะต้องพิจารณาการว่าระบบจริงของคุณจะต้องเป็นอย่างไร ถ้าคุณมีทีมพัฒนาแอพพลิเคชันของตัวเองก็ดีไป แต่ถ้าไม่มีในจุดนี้ต้องไปพึ่งพามืออาชีพแล้วครับ หากว่าที่ผ่านมาคุณเลือกที่จะว่าจ้างผู้พัฒนาแอพพลิเคชัน เขาก็จะมองมาถึงข้อนี้ให้แล้ว ถ้าคุณไม่ทราบว่าจะหาคนช่วยพัฒนาระบบที่ไหนปรึกษากับ Cloud Ace ก็ได้นะครับ

2.1 เนื่องจากระบบจริงจะมีผู้ใช้เยอะมาก และในแต่ละช่วงเวลาจะมีการเรียกใช้ไม่เท่ากัน เราจึงต้องคำนึงถีงความสามารถในการ Scale คุณอาจจะเลือกใช้ Google kubernetes engine หรือ App engine

2.2 วางแผนเรื่องการนำข้อมูลไปใช้ต่อ เช่น หากขึ้นระบบบน Google cloud สามารถใช้ Google BigQuery ทำ Data analytics ได้ เป็นต้น

3. เมื่อคุณมีแผนสำหรับระบบใหม่แล้ว คุณอาจจะอยากนำข้อมูลคนไข้ในระบบโรงพยาบาลเดิมที่มีอยู่มาใช้ร่วมด้วย คุณจำเป็นต้องเพิ่มระบบสามารถนำข้อมูลเก่าออกมาจากระบบเดิมได้ และต้องคำนึงความปลอดภัยเป็นสำคัญที่สุด ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ง่ายนัก แต่จะส่งผลดีต่อไปในอนาคตได้ เพราะถ้าคุณใช้ระบบโทรเวชกรรมของคุณไปอีกหลายปี ข้อมูลคนไข้ในระบบโทรเวชกรรมกับข้อมูลคนไข้ที่มาโรงพยาบาลสามารถเชื่อมโยงกันได้ พอคุณทำ Data analytics ในอนาคตก็จะทำได้สะดวก

4. นอกจากระบบ IT แล้วต่อไปคุณต้องดำเนินการเรื่องอื่นๆ อีก เช่น แผนจัดการงานเอกสารการเบิกประกันจากระบบโทรเวชกรรม หรือเรื่องการจ่ายยาให้คนไข้

5. เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วก็ถึงเวลาที่เปิดตัวระบบโทรเวชกรรมเลย

ที่ผมกล่าวมาเป็นกระบวนการคร่าวๆ พอให้เห็นภาพว่าไม่ได้เกินความสามารถพวกเราเลย ถ้าพวกเราตั้งใจบริการด้านสุขภาพของเราก็ไล่ตามอเมริกาได้เช่นกัน

4. พัฒนาระบบให้ทันสมัยสำหรับโทรเวชกรรมได้อย่างไร

สำหรับท่านที่มีระบบบริการออนไลน์ให้ผู้ป่วยอยู่แล้ว และระบบทำงานบน Mainframe เวลานี้อาจจะเป็นเวลาอันสมควรแล้วที่คุณจะปรับระบบให้ดีขึ้น และนำข้อมูลที่สะสมมาตลอดไปทำ Data analytics บางท่านอาจจะถึงกับประสบปัญหาการจัดการกับข้อมูลผู้ใช้มหาศาลที่มีแนวโน้มว่าจะมากขึ้นเรื่อยๆ จนไม่สามารถตามกระแส Data driven ได้ พวกค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบก็ช่างแพงแสนแพง จะแก้ปัญหาอย่างไรดี

ตามวิถี Data driven เราต้องการนำข้อมูลออกมาใช้ประโยชน์ และจะดีมากหากระบบของเราสามารถดึงข้อมูลไปวิเคราะห์ได้ด้วย เนื่องจากเราจะใช้ Service บน Google Cloud ในการทำ Data Analytics เราจึงใช้แนวทางนำระบบขึ้น Google cloud กัน ในขั้นตอนหากระบบยังต้องใช้งานอยู่ เราก็จะค่อยๆ โยกย้ายระบบไปทีละส่วนครับ ถ้าเราดูจากภาพด้านบน เราจะเห็นว่าปลายทางที่เรามีระบบทั้งหมดกองรวมกันเป็นปลายทางนั้น ระหว่างทางเราสามารถค่อยๆ ปรับนำระบบขึ้น Google Cloud ได้

ระบบฐานข้อมูลที่ใช้อยู่ หากต้องการให้นำไปวิเคราะห์บน Google Bigquery การปรับให้ไปใช้ระบบฐานข้อมูลบน Google Cloud ก็จะสร้างข้อได้เปรียบครับ เพราะสามารถต่อกันได้โดยตรง และข้อมูลใหม่สามารถดึงออกมาได้รวดเร็ว ส่งผลดีต่อทีม Data Analyst เวลาเราทำงานด้วย Agile Methodology อย่างมากครับ ซึ่งเป็นการทำงานที่ต้องมีการนำข้อมูลสดใหม่มาหารือเพื่อปรับแก้ระบบถี่ๆ

หากประเมินความคุ้มค่าแล้ว ระบบที่ขึ้นบน Google Cloud เราเสียค่าใช้จ่ายเพียงเท่าที่เราใช้จริงๆ กล่าวคือ ไม่มีใครใช้ระบบก็ไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ระบบบนเครื่อง Mainframe เราต้องเสียค่าดูแลรักษาตลอด และต้องจ้างคนดูแล แล้วยังยากเวลาจะนำข้อมูลออกมาวิเคราะห์อีก การตัดสินใจค่อยๆ ย้ายไปใช้ Cloud จึงเป็นตัวเลือกที่ไม่เลวร้าย

ในขั้นตอนย้าย ทาง Google เองมีความชำนาญในการดูแลระบบ Mainframe มาช้านาน เขาจึงได้พัฒนาเครื่องมือในการโยกย้ายระบบจาก Mainframe ขึ้น Cloud ที่นุ่มนวล เรียกว่า G4 ครับ ซึ่งทำให้ในตลาดแล้ว การพัฒนาระบบ Mainframe เป็นระบบที่ทันสมัย หรือ Mainframe modernization นั้น Google ขึ้นเป็นที่ 1 ของตลาดดังผลสำรวจด้านล่างนี้


จบกันไปแล้วสำหรับโทรเวชกรรม หวังว่าจะทำให้ผู้อ่านทุกท่านเข้าใจถึง Concept ของเทคโนโลยีนี้ได้มากยิ่งขึ้น

ทำความรู้จักกับเทคโนโลยีอื่นๆ บน Google Cloud กับกิจกรรม webinar

ลงทะเบียนเข้าร่วมฟรี ! คลิกที่นี่

Make It Now!

หากคุณสนต้องการคำปรึกษา Cloud Ace Thailand พร้อมให้บริการที่จะสนับสนุนคุณตั้งแต่ การให้คำปรึกษา จนถึงการออกแบบระบบ ติดตั้งระบบ ย้ายระบบ ในฐานะ Google Cloud Partner ที่มีความเชี่ยวชาญ และได้รับรางวัล Service partner of the year ในปี 2019

ติดต่อเรา th_sales@cloud-ace.com

.